2 ปี จาก Development Director สู่ Chief Product Officer (CPO)

Sakul Montha
2 min readJan 5, 2024

สวัสดีทุกคน ตอนนี้ผมทำงานที่ Bitkub Online มาได้ 2 ปีละ ก็เลยอยากจะเขียนอะไรเอาไว้สักหน่อย เผื่อย้อนกลับดูตัวเอง และเผื่อมีใครจะได้อะไรไปบ้าง

2 years from Development Director to Chief Product Officer

Development Director

ผมเริ่มทำงานที่นี่เมื่อช่วง ม.ค. 2022 โดยรับผิดชอบในฐานะ Development Director หลัก ๆ ก็บริหารทีม Engineer นี่แหละครับ มีน้อง ๆ ที่อยู่ด้วยกันราว 60–80 คน แล้วแต่ช่วง แต่ก็จะคุยกันผ่าน Manager ที่ Direct กับเรามากกว่าการที่จะไปคุยกับน้องเอง แต่ไม่ได้หมายความว่าเราจะไม่คุยกับน้องเลยนะ หน้าที่ของผมนอกจากดูแลน้อง ๆ Software Engineer แล้ว ก็จะเป็นการที่ต้องทำงานใกล้ชิดกับ QA, Product, PM, Data, SRE, Operation, Risk, SEC และสายงานบริหารด้านอื่น ๆ ไปจนถึงการมีส่วนร่วมในการจัดตั้ง Commitee และ/หรือต้องเป็น Commitee เอง

ต้องบอกว่า ระบบของเราเนี่ยมันขึ้นโดยคนเพียงไม่กี่คน และให้มันขึ้นได้ไวที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ซึ่งมันก็ทำงานของมันมาได้ จนถึงระดับนึงเลยหละ หลายท่านคงเคยทราบว่าเราเคยมีเหตุการณ์บ้านไฟไหม้ ต้องรีบดับไฟ แล้วมันก็ทำให้ตระหนักได้ว่า ต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาซอพต์แวร์ ให้มีความยั่งยืน แข็งแกร่ง มีคุณภาพ และปลอดภัย โดยมีหน่วยงานคอยควบคุมเราอีกที (ฉะนั้น ขอให้ลูกค้าทุกท่าน สบายใจได้นะครับ ฮ่า ๆ)

เอาง่าย ๆ ก็. “ทำในสิ่งที่ยังไม่มี ให้มี, ทำในสิ่งที่มีอยู่แล้ว ให้ดีขึ้น” แหละ

ก็ทำมาได้ราวปีกว่า ๆ อยู่มาวันหนึ่ง ทางผู้บริหารเค้าก็ได้โปรโมทผมขึ้นไปดูแลโปรดักส์ ในฐานะ Chief Product Officer ทีนี้ก็รู้สึกงุนงงเล็กน้อยนะ จริง ๆ เค้าก็มาทาบทามก่อนแหละ เราก็อยากทราบเหตุผลของผู้บริหารแต่ละคนว่าเพราะอะไร แล้วเราก็ขอเวลาไปคิด ปรึกษาหัวหน้า (หัวหน้าโอเค ยินดีที่น้องจะเติบโต อันนี้ก็สบายใจไปเปราะนึง) ปรึกษาทางบ้าน ทางบ้านก็ไม่ติด ก็เลยอะ ลองดู!!

Chief Product Officer (CPO)

ในฐานะใหม่นี้ ต้องมีการรับรองอย่างเป็นทางการด้วยนะ แลดูน่าตื่นเต้นชะมัด หน้าที่รับผิดชอบหลัก ๆ ชื่อชัดมาก ประธานเจ้าหน้าที่ด้านผลิตภัณฑ์ Bitkub Online (Bitkub Exchange) ของเรานี่แหละ นอกจากดูแล Product Team แล้ว ยังมีอีก Team มาด้วย คือ Experience Design และใช่แล้ว ผมได้ไม่มี Background ที่มากพอ ก็อาศัยให้น้องพูด น้องอธิบาย ใน Area ที่น้อง Strength โดยเราเป็นผู้ฟังที่ดี ฮ่า ๆ ต้องขอบคุณน้อง ๆ ด้วยที่พยายามเล่าให้พี่เข้าใจ

หน้าที่ส่วนใหญ่ในฐานะนี้คือ กำหนด Direction, Manage Stakeholder, Work closely with Team ช่วยทีมดูแล Product Roadmap และสิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้คือเรื่อง Problem Solving lol

การทำงานหลังจากเปลี่ยนอาชีพ มาเป็น Product เต็มตัว รอบนี้ไม่ได้ต้องดูน้องเกือบร้อยคนละ เปลี่ยนเป็นประมาณ 20–30 คน รวม Product และ Experience Design โดยที่เราจะดูแล Director ของแต่ละสายแบบ Direct แต่ทว่า… ดุเดือดเลือดพล่านมากจ้า มีเรื่องราวทุกวัน ด้วยความที่โปรดักส์ของเรา ต้องเปิด 24 ชม ไม่มีวันพัก เป็นการเงิน แถมยังเกี่ยวกับ Cryptocurrency อีก ทีนี้ก็ว้าวุ่นเลย

เราพยายามเข้าใจสถานการณ์ แล้วก็ค่อย ๆ ปรับ พยายามทำให้มันเข้าที่เข้าทาง อาจจะด้วยความที่พื้นเพเราเป็น Engineer มาก่อน และเราอยู่ที่นี่มาก่อน เลยไม่ต้องปรับตัวอะไรมาก เวลาต้องไปคุยกับทีมอื่น

เพราะมีความเข้าใจใน Product มาอยู่แล้ว เราเลยเริ่มจากการปรับ Stucture ของทีมให้มีความเป็น Domain ทำให้งานมันโฟลมากขึ้น (เท่าที่มันจะเป็นไปได้ เพราะทุกอย่างมีข้อดี และเสียเสมอ) Product ทำงานใกล้ชิดกับ Engineer มากขึ้น เข้าใจกันมากขึ้น (มั้ง ฮ่า ๆ) พยายามหาตรงกลาง ระหว่าง Business Need กับ Second Line Need. จากทั้ง Compliance, Legal, Security, Risk, Accounting, Marketing รวมถึงเรื่อง Data Privacy ด้วย เอาจริง ๆ นะ ตรงนี้ต้องใช้ตรรกะสูงอยู่ เพราะทุกการตัดสินใจ ควรต้องมี Data ประกอบเสมอ

เราค่อนข้างเป็นคนให้ Autorithy Team นะ ไม่ต้องรอเรา ให้เป็นเรื่องที่ตกลงกันไม่ได้จริง ๆ ค่อยให้เราเสนอความคิดเห็นก็ได้

เราเชื่อว่าคนหน้างาน คือคนที่เข้าใจผลิตภัณฑ์ที่ตนเองทำมากที่สุด เราเพียงมีหน้าที่ ทำให้น้อง ๆ ทำงานสะดวกมากขึ้นเท่านั้น

ด้วยความที่ปีที่แล้วมาระหว่างทาง ครึ่ง ๆ กลาง ๆ Direction อาจจะไม่ชัดมาก ปีนี้ตั้งเสร็จเอาไว้ตั้งแต่ ธ.ค. 2023 แล้ว และก็คงจะมีการปรับนู่นปรับนี่อีกพอสมควร ต้องมาดูกันว่ากว่าจะถึงปลายทาง มันจะมีอะไรปรับเปลี่ยน หรือเป็นอย่างไรบ้าง

iamgique

Summary

อันที่จริงพอขึ้นชื่อว่า C Level ส่วนมากไม่ค่อยจะได้ใช้ Hard Skills มากนัก ส่วนมากจะเป็นฝั่งบริหาร ฝั่ง Soft Skills มากกว่า อันที่จริงก็น่าจะตั้งแต่ตอนเป็น Director แล้วแหละ

หากถามว่า ผมได้อะไรจากการเป็นโปรดักส์ นอกจาก Discovery กับ Delivery ก็คือ สกิลการต่อรอง สกิลการพูด และ “อย่าทำตัวเป็นนักติ โดยไม่มี Solution แล้วก็เอาแต่ตัวเองเป็นศูนย์กลางจักรวาล นอกจากมันจะไม่ช่วยอะไรแล้ว มันยังไม่เป็นผลดีกับอะไรทั้งสิ้น”

เราคงไม่สามารถบอกได้ว่า ผลิตภัณฑ์ของเรา เป็นผลิตภัณฑ์ที่ดีที่สุด เรายอมรับว่าผลิตภัณฑ์ของเรายังมีจุดที่ต้องปรับปรุงอยู่อีกมาก ซึ่งผมในฐานะโปรดักส์ ก็อยากจะแก้ปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้ให้กับลูกค้าของเรา เพื่อให้ลูกค้าของเรามี Experience ที่ดีที่สุดเช่นกัน!

การมาเป็น Product ไม่ได้ทำให้จิตวิญญาณในการเป็น Software Engineer ของผมหายไปไหน ผมยังสนุก และรักในการเขียนโปรแกรมอยู่ ถ้าหากวันไหนมีเวลา ก็จะเขียนโปรแกรม ไม่ปล่อยให้มันฝืดมือ ในส่วนของ Product ก็อินขึ้นเรื่อย ๆ จากวันแรกถึงวันนี้ แต่ก็ยังมีสิ่งที่ต้องเรียนรู้ ต้องเข้าใจอีกหลายแง่หลายมุม ซึ่งมันก็สนุกเอามาก ๆ และปีนี้เราจะต้องเป็นโปรดักส์ที่เก่งขึ้น!

iamgique

ขอให้ปี 2024 นี้ เป็นปีที่ดีของทุกคน นะครับ

--

--

Sakul Montha

Chief Product Officer, a man who’s falling in love with the galaxy.