9 Ways to Prioritize the Product and Feature

Sakul Montha
5 min readAug 18, 2023

สวัสดีมิตรรักแฟนบทความทุกท่าน ห่างหายกันไปนานเลยนะครับ… หลายท่านที่ทำงานด้าน Product คงเคยประสบปัญหาในเรื่องของการ Prioritize งานกันมาบ้าง บางคนเยอะ บางคนน้อย แตกต่างกันไปตามวาระ และโอกาส ด้วยความที่ตอนนี้ผมมาดูแล Product ภายในบริษัท ก็ประสบพบเจอปัญหานี้เช่นกัน… ไม่ว่างานจะมาจาก Management ด้วยกันเอง จาก Second Line, Security, Operation, Customer Support, Risk, Comp, Legal, หรือ Accouting ไหนจะต้อง Release Feature ต่าง ๆ ให้ลูกค้าอีก ผมมองว่า ทุกท่านที่กล่าวมา คือ “ลูกค้าของเราทีม Product”

9 Ways to Prioritize the Product and Feature // iamgique

ในฐานะ Product Management สิ่งที่เราจำเป็นต้องทำนอกเหนือจากการที่ต้องทราบ Requirement ที่ตนเองต้องการแล้วนั้น อีกอย่างที่สำคัญไม่แพ้กันก็คือการ Prioritize งานที่หลั่งไหลกันเข้ามา ก่อนที่จะเข้าไปสู่ Development Team แล้วเราควรทำอย่างไรกันหละ ที่จะจัดการสิ่งเหล่านี้ เพื่อให้ได้รับ Benefit ที่ดีที่สุด ภายใต้ข้อจำกัดต่าง ๆ ที่เรามี…

พี่คิดว่า… VS Data-Driven อะไรหละที่ดีกว่ากัน

เมื่อไหร่ก็ตามที่คุณกำลังจะเลือกทำอะไรสักอย่าง มันมักจะมาจากสองสิ่งนี้ใช่มั้ยหละ แล้วที่จริงมันควรมาจากอะไร ก็ต้องบอกว่ามันก็แอบยากที่จะตอบ เพราะว่าทั้งสองแนวทาง มันก็มีข้อดีข้อเสียในตัวมันเอง การคิดที่มาจาก Data-Driven มักถูกมองว่ามีวัตถุประสงค์ และมีเหตุผลมากกว่า แต่… พี่คิดว่า หรือสัญชาตญาณมักจะดำเนินการได้เร็ว และอาจจะง่ายกว่า.. ที่เราควรทำคือแบบไหนกันแน่นะที่ลูกค้าเราต้องการ และไม่ว่าคุณจะใช้วิธีไหน สุดท้ายเราต้องลำดับความสำคัญให้กับมัน…

แหละนี่ก็จะเป็นหัวใจของการลำดับงาน ซึ่งมันก็มีอยู่ด้วยกันหลากหลายวิธี โดยที่วันนี้เราจะมานำเสนอคือ 9 Ways to Prioritize the Product and Feature

แถม: วิธีการจะได้มาซึ่ง Market Insights แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบด้วยกัน นั่นคือ Internal และ External

Internal: Customer feedback, App & website analytics, Customer success and support, และ Sales
External: Competition, และ Industry reports

Prioritization Method

วิธีการลำดับความสำคัญของงาน ก็มีอยู่หลากหลายรูปแบบด้วยกัน เราสามารถอ่าน แล้วนำไปประยุกต์ใช้กับงานของตนเองได้

1. MosCoW Method

MosCoW Method เป็นวิธีการนึงที่จะช่วยให้เราสามารถตัดสินใจได้ว่าจะทำอันไหนก่อน เป็นวิธีที่เรียบง่าย โดยเค้าแบ่งเอาไว้ 4 แบบ

Must เป็น Feature ที่สำคัญ และจำเป็นที่ต้องทำ อย่างเร็วที่สุดที่เป็นไปได้ เช่นงานที่เกี่ยวกับกฎหมาย ยังไงก็ต้องทำจ้า
Should เป็น Feature ที่มีความสำคัญ แต่สามารถทำทีหลังได้
Could เป็น Feature ที่มีความสำคัญน้อยหน่อย สามารถทำทีหลังได้ถ้ามีเวลา
Won’t เป็น Feature ที่ไม่มีความสำคัญ ทำแล้วไม่มีใครได้ประโยชน์อะไร ไม่ต้องทำ

2. Weighted Scoring

Weighted Scoring เป็นวิธีการนับคะแนนของแต่ละ Feature ซึ่งคะแนนจะได้มาจากความสำคัญ และตอบสนองความต้องการของลูกค้า เช่น เรามีอยู่ 4 Objectives แบ่งแต่ละ Objective ให้มี Weight Score ที่ไม่เท่ากัน แล้วมารวมคะแนน ออกมาเป็น Overall และ Impact Score

Objective มาจากไหนหละ อาจจะมาจาก Strategy, Direction, OKRs ขององค์กร, Product Roadmap หรือ Regulator ต่าง ๆ

Weighted Scoring // iamgique

ถ้าเราสามรถแบ่งได้ดังนี้แล้ว เราก็จะทราบแล้วว่า อันไหนควรทำก่อน อันไหนทำทีหลัง

3. RICE Method

วิธีนี้อ่านแล้วหิวข้าวเลยครับ อะท่ด ๆ ที่จริงมันมาจากคำย่อ

R: Reachability มีลูกค้ากี่คนที่จะสามารถได้ใช้ Feature นี้
I: Impact เมื่อ Feature นี้ออกไปจะมีผลกระทบมากน้อยเพียงใด
C: Confidence เรามีความมั่นใจแค่ไหน
E: Effort ต้องใช้คน, เวลา หรืออาจจะเป็นเงิน มากแค่ไหนในการทำให้เกิด Feature นี้

เป้าหมายของวิธีนี้คือการสร้าง RICE Score เพื่อจัดลำดับความสำคัญ และช่วยให้ Product managers ได้เล็งเห็นว่า อันไหนสำคัญที่สุด และช่วยให้มั่นใจได้ว่า Product/Feature ที่จะปล่อยออกไปจะประสบความสำเร็จ และตรงตามความต้องการของลูกค้า

RICE Method // iamgique

วิธีคิด r = reach, i = impact, c = confidence(%), และ e = effort
จะได้ดังนี้ RICE Score = ((r x i) x c(%)) / e

ผู้บุกเบิกวิธีนี้คือ Intercom หากสนใจเพิ่มเติมไปดูได้

4. Value Vs Effort

Value vs Effort เป็นวิธีการที่จะช่วยให้คุณชั่งน้ำหนัก ระหว่างประโยชน์ของ Feature เทียบกับปริมาณของงานที่ต้องการจะ Implement ซึ่งข้อนี้ถือเป็นอีกเรื่องนึงที่สำคัญ เนื่องจากสามารถช่วยให้คุณมั่นใจได้ว่า คุณกำลังทำในสิ่งที่ดีที่สุดให้กับลูกค้า

Value Vs Effort // iamgique

5. Story Mapping

Story Mapping เป็นเฟรมเวิร์กที่ช่วยจัดระเบียบ Features ต่าง ๆ ออกเป็นแผนภาพแบบ Hierarchical tree diagram ซึ่งมันจะแสดงให้เห็นถึง Dependencies ระหว่างกันและกัน

ขั้นตอนแรกในการใช้ Story Mapping คือการสร้าง Backlog ทั้งหมดของ Feature ที่ต้องการ Prioritize ซึ่งทำได้โดยการ Brainstorm จากทีม, Customer feedback, หรือดูจาก Data analytics ต่าง ๆ

พอคุณมีลิสของ Backlog แล้ว คุณสามารถใช้กระดาษโน๊ต หรือพวกบอร์ดต่าง ๆ หลังจากนั้นทีมก็ละเลงกันแปะกระดาษโน๊ตได้ตามต้องการ เพื่อสร้าง “Story” ซึ่งมันจะช่วยทำให้ทีมสามารถ Break down feature ได้ แล้วทำให้เราสามารถตัดสินใจ และเลือกที่จะพัฒนา จนออกมาเป็น “User Story” ได้ (แอบคล้าย ๆ ตอน Workshop Agile หรือ Event storming ใน DDD อยู่นะ)

Story Mapping // iamgique

หากอยากดูเพิ่มเติม ดูได้ที่ User Stor Mapping

6. Priority Poker

Priority Poker เป็นเฟรมเวิร์กที่มาจากไอเดียของการเล่น Poker เพื่อจัดลำดับของ Feature ซึ่งในขั้นตอนแรกของการใช้ Priority Poker คือเราต้องมี List ของ Feature กันมาก่อน

เมื่อคุณมี List ของ Features แล้ว คุณจะต้องให้แต้มกับทุก Features ที่คุณสร้างขึ้นมา โดยที่แต้ม หรือ Value นั้น มันอาจจะขึ้นอยู่กับอะไรก็ได้ แต่โดยทั่วไปมักจะขึ้นอยู่กับความสำคัญของ Feature นั้นว่าจะทำให้ Product ของเรา Success ได้มากน้อยเพียงใด

https://airfocus.com/blog/priority-poker-2-new-way-to-prioritize-remotely/

สนใจดูเพิ่มเติมได้ที่ Priority Poker 2.0: A New Way to Collaboratively Prioritize อันนี้เค้าทำออกมาอารมณ์เป็นเกมส์เลย

7. Opportunity Scoring Framework

Opportunity Scoring Framework ใช้วิธีการประเมิณควาามพึงพอใจของลูกค้า (Satisfaction) ตามผลลัพธ์แบบ Specific Feature โดยเป็นการคำนึงถึงมูลค่าทางธุรกิจ หรือความสำคัญของ Feature (Importance) และความเป็นไปได้ในการ Implement

เป็นวิธีที่แม่นยำ ง่ายต่อการ Visualize และทำให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นในการ Prioritize features

แต่ก็มีข้อสังเกตุอยู่บ้าง เช่น ลูกค้าอาจประเมิณ Overestimate หรือ Underestimate กว่าค่ามาตรฐานในระหว่างการทำ Survey

Opportunity Scoring Framework

ดูเรื่อง Opportunity Scoring Framework ต่อได้ที่นี่

8. The Product Tree

Product Tree เป็นเฟรมเวิร์กที่มีความสำคัญต่อการ Priotitize เนื่องจากเป็นวิธีการในการ Visualize Product และ Features ทั้งหมด มันสามารถช่วยให้เราแน่ใจว่า Features ทั้งหมดจะได้รับการพิจารณา และได้รับการให้ความสำคัญ

จากที่หามาเค้าจะให้ทำเป็นอารมณ์เกมส์ Product Tree Game Session

Step 1: ให้ดาน์วโหลด Product Tree Template ออกมาก่อน โดยที่ โครงสร้างของ Product จะมีองประกอบอยู่ด้วยกัน 4 อย่าง

The trunk — แสดงถึง Core features ที่มีอยู่แล้วใน Product ของเรา
The branches, Feature branches
The leaves — Individual feature
The roots — พวก Infrastructure และ Technical requirements ที่ Support Product ของเรา

https://www.prodpad.com/blog/product-tree-game/

Step 2: Prepare your leaves
Step 3: Get your group together
Step 4: Put the leaves on the tree
Step 5: Prune your Product Tree
Step 6: Present and review internally

หากอยากรู้ หรือดูเพิ่มเติมแนะนำให้คลิกไปที่นี่ ตัวผมเองก็ยังไม่เคยลองทำวิธีนี้เหมือนกัน

9. Cost of Delay

Cost of Delay ใช้มูลค่าทางธุรกิจในการ Prioritize โดยที่จะเน้นไปที่คุณค่าของ Feature, ความเสี่ยงที่ที่อาจจะเกิดขึ้นถ้าหาก Implement ล่าช้า, และผลกระทบที่มีต่อประสบการณ์ของผู้ใช้งาน ซึ่งมันเป็นสิ่งสำคัญสำหรับ Product Manager ที่จะต้องพิจารณาปัจจัยเหล่านี้ทั้งหมดเพื่อที่จัดลำดับงานออกมา

Cost of Delay // iamgique

รูปที่ทำขึ้นมาดูไม่ยาก อาจจะไม่ต้องอธิบายเนอะ คุณสามารถดูเรื่อง Cost of Delay เพิ่มเติมต่อได้ที่นี่

Conclusion

จากที่ได้อ่านมา ผมค่อนข้างมั่นใจว่า ผู้อ่านแต่ละท่าน ก็อาจจะมีความคุ้นเคยกับบาง Method หรือบาง Framework กันมาบ้างแล้ว ก็ถือว่าได้ทบทวนความจำกันนะครับ ส่วนท่านที่ไม่เคยทราบมาก่อนก็น่าจะได้รับทราบถึงวิธีการต่าง ๆ ที่บทความนี้ได้ไปหามา และนำขึ้นมาเขียน 9 วิธี คิดว่าน่าจะสามารถทำให้ท่าน ได้นำไปปรับใช้ ประยุกต์ใช้กันได้.. ที่จริงยังมีอีกหลายวิธีเลย ที่ไม่ได้หยิบขึ้นมาเขียน สามารถดูได้ที่ References

ก่อนจะจากกันไปก็อยากจะบอกว่า

“ไม่มีเฟรมเวิร์ก หรือวิธีการไหนที่ดีที่สุด มันขึ้นอยู่กับบริบทของแต่ละคน ว่ากำลังเจอกับอะไร การที่เราได้เรียนรู้วิธีต่าง ๆ เพื่อที่วันนึง หากเราเจอสถานการณ์ที่เราอาจจะเคยอ่าน หรือมีประสบการณ์ เราจะได้สามารถนำมันมาปรับใช้ให้ได้อย่างเหมาะสม “

สำหรับวันนี้ ขอตัวไปก่อน จนกว่าจะพบกันใหม่ สวัสดีครับ

--

--

Sakul Montha

Chief Product Officer, a man who’s falling in love with the galaxy.