Homebrew คุณค่าที่ Developer สาย Macintosh คู่ควร
ในปัจจุบัน เหล่านักพัฒนาซอฟแวร์เริ่มหันมาใช้ Macbook กันอย่างแพร่หลาย ด้วยเหตุผลต่าง ๆ นานา บางคนก็ว่ามันเสถียร บางคนก็ว่ามันดีอย่างนั้นอย่างนี้ บางคนก็ใช้แค่เพราะไม่ชอบใช้ OS ของอีกค่าย ไม่ว่าคุณจะใช้ Mac ด้วยเหตุผลใดก็ตาม จะใช้ IDE อะไรก็ตาม จะเขียน หรือ พัฒนาซอฟแวร์ด้วยภาษาใดก็ตาม สิ่งที่คุณต้องมี ติดเครื่องเสมอ นั่นคือ Homebrew!!
“The missing package manager for macOS” หรือ “แพคเกจเมเนเจอร์ที่ขาดหายไปของ macOS”
Homebrew คืออะไรหละ
Homebrew เป็น Software package management ซึ่งเป็น Open-source ที่ทางผู้พัฒนาให้คำนิยามของมันว่า “The missing package manager for macOS” หรือ “แพคเกจเมเนเจอร์ที่ขาดหายไปของ macOS” แค่คำนิยามก็ดูหล่อเหลาแล้วหละครับ ฮ่า ๆ… ใช่ครับ Homebrew มันเป็น package manager ที่ขาดหายไปของ macOS จริง ๆ มันมีหน้าที่ ช่วยเราในการจัดการกับพวก package ต่าง ๆ ให้เรา โดยที่เราเพียงแค่บอกมันว่า อยากจะ install, upgrade หรือ delete package นั้น ๆ ที่เหลือ brew จะจัดการให้คุณ ยกตัวอย่างง่าย ๆ เช่น “คุณอยากจะเขียน nodejs จัง สิ่งที่คุณพึงจะต้องมีก็คือ node และ npm คุณแค่บอก brew install node” จบ ที่เหลือแค่ปล่อยให้พี่ brew เค้าจัดการ…
Package
Homebrew มี package ให้คุณใช้มากมายคือเยอะมาก เช่น pip, mysql, ruby, go, chromedriver โดยที่หลาย ๆ official website ก็มีการสอนวิธี install ผ่าน brew กันแล้ว… ท่านสามารถเข้าไปดูได้ว่า ใน Homebrew มี package อะไรบ้างได้ ที่นี่
“คิดอะไรไม่ออก บอก brew ใช่ครับ ผมทำอย่างนั้นในชีวิตจริง”
Install brew
ขั้นตอนการติดตั้ง brew แสนง่ายดายครับ
- เปิด Terminal แล้ว copy code ด้านล่างลงไป แล้ว กด enter 1 ครั้ง
/usr/bin/ruby -e "$(curl -fsSL https://raw.githubusercontent.com/Homebrew/install/master/install)"
- รอจนกว่าจะเสร็จ
- **notice** เครื่องที่จะลง brew ได้ ต้องมี xcode ก่อนนะครับ
xcode-select -- install
- **notice 2** โดย Default Homebrew จะติดตั้งไว้ที่
/usr/local
- **notice 3** โดย Default Package ที่ตั้งตั้งโดย brew จะอยู่ที่
/usr/local/Cellar
เมื่อเราทำการ install brew เสร็จแล้ว ให้ลองพิมพ์ใน Terminal ดัง code ด้านล่าง
$ brew update
เป็นคำสั่งบอก brew ให้ update version เป็นปัจจุบัน ถ้าไม่มีอะไรผิดพลาด มันต้องได้ ถ้าไม่ได้ ให้กลับไปดูข้างบนใหม่ ว่าขาดอะไรไป
How to use
อ่านกันมาถึงตรงนี้ ผมเชื่อว่าทุกท่านน่าจะใช้เป็นแล้วหละครับ แต่ไหน ๆ ก็เขียนมาแล้ว ก็ขออธิบายหน่อยนึงแล้วกัน
- คำสั่งในการ install package ดั่งคำที่ย่อหน้าแรกครับ แพคเกจที่ขาดหายไปของ macOS “brew install <package-name>”
$ brew install wget
$ brew install node
- คำสั่งในการ upgrade package ที่เราต้องการ “brew upgrade <package-name>
$ brew upgrade wget
- คำสั่งในการ delete package ที่เราต้องการ “brew uninstall <package-name>”
$ brew uninstall wget
- คำสั่งในการ list ดูว่าเรา install package อะไรลงไปบ้าง “brew list”
$ brew list
- คำสั่งในการ install macOS apps “brew cask install <macOS-apps> ในตัวอย่างจะเป็นการ install IDE visual studio code
brew cask install visual-studio-code
เห็นมั้ยครับ ไม่ต้องมานั่งยุ่งยากไปหาวิธีการ install ให้มากความ ไหนจะต้อง set path อีก homebrew จัดการให้หมดจรด
เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย
ในเมื่อฝั่ง macOS เค้ามี Homebrew ให้ใช้งานกัน ทางฝั่ง Windows ก็ไม่ต้องกลัวน้อยหน้าไปนะครับ ทาง Windows เองก็มี Software management หลายตัว Scoop, Ninite, OneGet แต่ที่เป็นที่นิยมที่สุดจะเป็น Chocolatey หรือ choco ซึ่งทำหน้าที่เหมือน ๆ กันกับ Homebrew นั่นแหละ
ก็จบกันไปแล้วนะครับ สำหรับ Package manager Homebrew อันที่จริงมันก็มีมานานแล้ว หลาย ๆ ท่านอาจจะใช้กันหมดแล้ว แต่บางท่านอาจจะยังไม่เคยใช้ ก็หวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อเหล่า developer สาย Macintosh กันนะครับ