Jira คืออะไร แล้ว Epic, Story, Task และ Sub-Task ต่างกันอย่างไร
Jira เป็น Proprietary issue tracking tools ที่จะคอยเข้ามาช่วยจัดการ Bug tracking, Project management ในงานของเรา รวมถึง Plan, Track, Release และทำ Report ได้ เป็นผลิตภัณฑ์ของ Atlassian (อีกแล้วครับท่าน) เขาบอกว่าตอนนี้เป็นอันดับ 1 Software development tool used by agile teams
ปัจจุบันถูกนำมาใช้ในการจัดการ tracking agile project management กันอย่างแพร่หลาย ซึ่งในเมืองไทยเองก็มีการนำ Jira เข้ามาใช้ในองค์กรกันอย่างมาก ณ ขณะนี้…
มาพูดประวัติกันนิดนึง Jira release ครั้งแรกมาตั้งแต่ปี 2002 นานมาก ผมเองมีโอกาสได้ใช้ครั้งแรกก็ประมาณปี 2014–2015 เข้าไปแล้ว ตัว Jira ใช้ Java ในการ develop ปัจจุบัน Jira มีลูกค้ามากมายทั่วโลก กว่า 122 ประเทศ ตัวอย่างที่ใช้ก็เช่น NASA, Twitter, Spotify, airbnb และอีกมากมาย ตัว Jira จะแบ่งออกเป็น 3 packages คือ Jira core, Jira software และ Jira service desk… แต่วันนี้ที่จะพูดถึงก็คือ Jira software โดยจะอธิบายความแตกต่างระหว่าง
- EPIC
- STORY
- TASK
- SUB-TASK
แบบไม่ละเอียดมาก และออกมาจากประสบการณ์ อาจจะไม่ถูกต้องทั้งหมด
Jira คล้าย Trello แต่ไม่ใช่ จุดประสงค์มันต่างกัน
เกริ่นกันซักนิด ก่อนจะเข้า Epic มันจะมีสิ่งหนึ่งที่เขียนว่า Board Project และ/หรือ Initiative ในจัดการ Scrum of Scrum ส่วนนี้จะเป็นส่วนที่ระบุลงไปว่า Project ที่จะทำมันคือ Project อะไร ซึ่งแต่ละองค์กร ก็จะมีวิธีบริหารจัดการที่แตกต่างกันออกไป ตรงนี้ผมจะไม่ขอพูดถึง…
TL;DR
ใน 1 Project มีได้หลาย Epic
ใน 1 Epic มีได้หลาย Story
ใน 1 Story มีได้หลาย Task
ใน 1 Task มีได้หลาย Sub-Task
ใน 1 Project อาจจะต้องแบ่งการทำงานกันหลากหลายทีม หลากหลายเซอร์วิส แล้วใน 1 Project ก็อาจจะไม่สามารถทำให้เสร็จได้ภายในระยะเวลาอันสั้น ดังนั้นจึงมี Epic เกิดขึ้นมา เพื่อให้ระบุได้ว่า เมื่อทำงาน 1 Epic เสร็จ ผลลัพท์จะออกมาเป็นอย่างไร เมื่อเรามี Epic แล้ว จากนั้นก็จะเป็นส่วนของ Story เมื่อ Product Owner หรือ Business ทราบถึง Epic แล้ว ทาง Product Owner ก็จะเริ่มเขียน Story สร้างเรื่องราวขึ้นมาให้กับเหล่า Development จากนั้นเหล่า Development ก็จะเริ่มทำการสร้าง Task ขึ้นมาถ้าหาก Task ไหนใหญ่มากเกินไป ก็อาจจะทำการ สร้าง Task ใหม่เพื่อให้งานสามารถดำเนินต่อไปเป็นส่วน ๆ ได้สะดวกขึ้น หรือสร้าง Sub-Task ขึ้นมาก็ได้ ตามความเหมาะสม และข้อตกลงกับทีม
EPIC
Epic เปรียบเสมือน Super-story จริง ๆ มันคือ Theme ของ Story ที่จะบอกว่าเราแบ่ง Theme นี้ออกเป็น Story ย่อย ๆ อะไรบ้าง ที่ไม่สามารถทำให้เสร็จได้ภายใน sprint เดียว อาจจะมีรายละเอียดปลีกย่อยหลายสิ่ง หลายอย่าง มันเหมาะกับการทำเอาไว้ให้กว้าง ๆ นิดนึง แต่ไม่ต้องกว้างจนเกินไป
ส่วนนี้จะเป็นส่วนที่ฝั่ง Business เข้าใจว่าเมื่อทำการ Implement เสร็จผลลัพธ์จะได้อะไร
STORY
Story เป็นส่วนของการทำงาน Functional มากขึ้น ซึ่งใน Story นึงก็ควรจะเสิร์พของที่มี value ให้กับทางฝั่ง business ได้ แต่ไม่ได้หมายความว่างานมันจะเสร็จทั้ง Epic นะครับ
โดยมาก Story มักจะถูกเขียนลงมาจาก PO หรือ Product Owner หรืออาจจะเป็นจาก ฝั่ง business ก็ได้ มันไม่ตายตัว ขึ้นอยู่กับองค์กร ส่วนนี้จะทำให้ฝั่ง Business เห็นว่า Story นี้ Progress ไปถึงไหนแล้ว
TASK
Task จะเป็นส่วนของฝั่ง development แล้วครับ ในส่วนนี้ฝั่ง development จะทำการ แตก Task จาก Story นั้น ๆ ว่าใน Story นั้นต้องทำอะไรบ้าง ใน 1 Story อาจจะมีหลาย Task ก็ได้ เนื่องจากงานบางส่วนมันอาจจะต้องแยก Task กันทำ หรือที่เรียกกันว่าแตกการ์ดนั่นเอง
Task ถือเป็นส่วนสำคัญอย่างมากสำหรับฝั่ง development เนื่องจากการแตก Task จาก Story นั้นจะทำให้รู้ว่า ผลลัพธ์จาก Task นี้ Result จะต้องเป็นอะไร จะใช้ระยะเวลาในการทำแต่ละ Task เท่าไหร่
SUB-TASK
Sub-Task จะถูกแตกออกมาจาก Task อันนี้ขึ้นอยู่กับทีมตกลงกันว่า Task นั้น ๆ ควรจะแตก Task ใหม่ หรือทำ Sub-Task
การทำ Sub-Task มีข้อดีหลายอย่างเช่น ทำให้ Track ได้ว่า งาน Task นี้ตอนนี้ทำไปจนถึงไหนแล้ว
Conclusion
การใช้งาน Jira นั้นถือว่ามีประโยชน์กับเหล่า Developer เป็นอย่างมาก ทั้งนี้ผมคิดว่านอกจากจะมีประโยชน์กับเหล่า Developer แล้ว ก็ยังมีประโยชน์กับทางฝั่งของ Business และ PM เป็นอย่างมากด้วย เนื่องจากพวกเขาสามารถ Track ได้ว่างานแต่ละงานนั้น Progress ดำเนินไปถึงไหนแล้ว สามารถนำ Story Point ไปคาดการณ์ได้ ว่างานจะเสร็จประมาณเมื่อไหร่ นำไปบริหารความเสี่ยงได้เป็นอย่างดี
Jira มันทำอะไรได้เยอะกว่าที่ผมเขียนมาได้อีกมากโข จัดว่าเป็นทูลที่ดีตัวนึงเลย หากใครยังไม่เคยใช้แนะนำให้หามาลองครับ ของมันต้องมี
“ผมได้ ideas ในการเขียนบทความนี้มาจากน้องในทีมถามความแตกต่างของมัน ว่ามันต่างกันอย่างไร ก็เลยไปหาข้อมูลมา บวกกับประสบการณ์ของตัวเอง แล้วนำมาเขียนเผื่อคนที่สนใจในการใช้ Jira จะได้เข้าใจกันมากขึ้น”
ถ้าตรงไหนผิดพลาดประการใด รบกวนชี้แจง และโต้แย้งได้เลยนะครับ จะได้แก้ให้ถูกต้อง เพื่อเป็นประโยชน์ต่อมวลมนุษยชาติสืบไป… อาเมน