เอาผู้ฟังให้อยู่กับ “Storytelling”

Sakul Montha
4 min readFeb 4, 2020

--

สวัสดีครับผู้อ่านทุกท่าน ปกติผมจะแชร์บทความเกี่ยวกับเรื่อง Technology กับ Technical มาตลอด วันนี้ขอเปลี่ยนแนว มาเป็นฝั่งของ Softskill กันบ้าง บนหัวข้อ เอาผู้ฟังให้อยู่กับ “Storytelling

เอาผู้ฟังให้อยู่กับ “Storytelling”

พอดีผมได้มีโอกาสไปเทรนเกี่ยวกับ Skill ในการ Presentation โดยที่ในการเทรนก็จะมีโค้ช ที่จะมานำเสนอเรื่องราวต่าง ๆ ทั้ง Content, Context, Presentation objective, Self Introduction, Connect, Bridge และ อื่น ๆ จริง ๆ ทั้งหมดมันเป็นสิ่งที่เชื่อมต่อกันหมด แต่ที่ผมชอบที่สุดใน Session นี้คือ Storytelling ที่ทางโค้ชมาเทรนให้ สิ่งที่ผมเห็นคือ การเล่าเรื่องของโค้ช ซึ่งใช้เวลาค่อนข้างนานมาก… แต่โค้ชเอาผู้ฟังอยู่ เท่าที่ผมสังเกตุคือ ไม่มีผู้เข้าร่วมท่านไหนหลุดเลย จัดว่าเจ๋งมาก ๆ

ปกติสาย Development อย่างเรา ๆ มักจะมีปัญหากับการเล่าเรื่องระหว่าง Content กับ Context และ Storytelling โดย Nature ของชาวเรา คนที่ไม่ใช่สายเรา มักจะมองว่าพวกเราพูดไม่รู้เรื่อง 555

ก็เลยถือโอกาสไปหาข้อมูลเพิ่ม บวกกับประสบการณ์ส่วนตัว ที่ได้มีโอกาสออกไปพูดมาหลายงาน และ สิ่งที่ถูกเทรนมา นำมาแชร์ให้ท่านผู้อ่านได้อ่านกันครับ…

Content is King // Bill Gates 1996

เริ่มต้นกันด้วย Quote เท่ ๆ ของ เสด็จท่าน Bill Gates “Content is King.” เสด็จท่าน Gates ได้กล่าวเอาไว้ตั้งแต่ปี 1996 จะเห็นว่าท่าน Gates ของเราได้กล่าวเอาไว้ตั้ง 24 ปีที่แล้ว ปัจจุบันนี้ คำ ๆ นี้ก็ยังใช้ได้อยู่ แต่ว่า…

ปัจจุบัน มีอีก Quote นึงที่มาครอบ Content ของคุณ Gary Vaynerchuk “Content is King, but Context is God.” เฉียบ!! ไปไปไป๊

เดี๋ยวจะกลายเป็นเรื่อง Content กับ Context เราไปเข้าเรื่องของเรากันดีกว่า

Preparation

ต้องบอกว่า Storytelling นั้นมันมีประโยชน์มาก แล้วก็มีด้วยกันหลายศาสตร์ที่นำไปใช้นะครับ ส่วนใหญ่ที่เจอมักจะเป็น Storytelling สำหรับ Marketing แต่วันนี้ผมจะมาพูดในเรื่อง Storytelling Presentation ซึ่งจริง ๆ ผมว่าทุกอย่างมันก็เหมือน Marketing อยู่ดีนั่นแหละ เพราะสุดท้าย สิ่งที่เราต้องการที่สุดคือ “ปิดการขาย” (นี่ผมอ่านที่ตัวเองเขียนอยู่ 5 รอบ ก็ยังงงว่าตัวเองเขียนอะไร แต่ไม่แก้อะ จะเอาอย่างนี้) ต่อ ๆ ก่อนจะไปให้ถึง Storytelling ผมอยากพาทุกคนทัวร์เป็น Preparation (เนื่องจากทุกอย่างมันควรจะประกอบร่างกัน)

Content v Context

Content (เนื้อหา) กับ Context (บริบท) เราต้องเข้าใจมันก่อน ว่าสองอย่างนี้มันต่างกันอย่างไร และ ใช้ให้ถูก

3Vs

3Vs

3Vs เค้าแบ่งออกเป็น 3 ส่วน มี Visual, Vocal และ Verbal

55% Visual การสื่อสารด้วยภาพ ท่าทาง หรือ ตัวคุณ, บุคลิกคุณ, Body language
38% Vocal น้ำเสียง หรือ Tone
7% Verbal คำพูด หรือ เนื้อหา

Presentation Sessions

การจัดสัดส่วนเนื้อหาในการ Present

Opening

News, Current situation, Experience, Quote, Question, Statistic, Assumption, Pain and Pleasure

Self Introduction

การบอกเล่า Self Introduction นั้นเค้าได้แบ่งเอาไว้ 4 ส่วน

Achievement, Award: เช่น จบการศึกษาที่ไหน ได้ Cert ได้ License วิชาชีพอะไรมา, ได้รับรางวัลชนะเลิศ Hackaton

Numbers: ใช้ตัวเลขเพื่อชูจุดเด่นของเรา เช่นประสบการณ์ทำงานมากกว่า 10 ปี, เรียนจบเป็นที่ 1 ในรุ่น, ได้รับ License คนแรกและคนเดียวในประเทศไทย Etc.

Valued Time: ช่วงเวลาที่มีความสำคัญ เช่น จบการศึกษาในปี 2010, ดูแลโปรเจคระดับ Enterprise มาเป็นเวลามากกว่า 8 ปี

Selling point, Identity: สรุปท้ายว่าจริง ๆ แล้วตัวตนของเราคือใคร ทำไมถึง Quailfy ที่จะมา Present ในหัวข้อนี้

Connect

คือการเชื่อมโยงผู้พูดและผู้ฟังเข้าด้วยกัน เพื่อให้ Content ที่ผู้พูดกำลังจะนำเสนอสามารถถ่ายทอดไปยังผู้ฟังได้ดีที่สุด (คล้าย ๆ การเตรียมความพร้อมของผู้ฟัง) ซึ่งประกอบไปด้วย M, A และ C

Me too = พูดถึงประสบการณ์ร่วม เช่น อาจจะบอกว่าจบมาจากสถาบันเดียวกัน เคยทำงานที่เดียวกัน

Admire = กล่าวชมสิ่งที่เกี่ยวข้องกับผู้ฟัง เช่น เคยใช้บริการของบริษัทผู้ฟังแล้วประทับใจ หรือ รู้สึกชื่นชมผลิตภัณฑ์ของบริษัท

Customer = เทคนิคที่บอกว่าเราเป็นลูกค้าที่ใช้ผลิตภัณฑ์ หรือ บริการของบริษัทที่ผู้ฟังทำงานอยู่ (ไม่ชัวร์ เก็บไม่หมด)

เทคนิคอื่น ๆ เช่น Benefits – แจกของกำนัลเล็ก ๆ น้อย ๆ เพื่อดึงความสนใจ หรือนำ Pain and Pleasure มาประยุกต์ใช้เพื่อ Connect กับผู้ฟัง
การตรวจสอบว่าผู้ฟัง Connect กับผู้พูดหรือยัง อาจจะสังเกตจากการพยักหน้าตามของผู้ฟัง

WHAT’S IN IT FOR ME? // iamgique

What’s in it for me?

เค้ามีตัวย่อเท่ ๆ ว่า WIIFM? เป็นสิ่งที่ผู้ที่มาฟังในวันนี้จะได้รับคืออะไร ผู้ฟังจะได้รับประโยชน์อะไรจากการรับฟัง

วิธีบอก Objectives หรือ Agenda ไม่จำเป็นต้องบอกตรง ๆ ทื่อ ๆ อาจจะหาวิธีที่น่าสนใจมากขึ้น เช่นการใช้ Pain and Pleasure เพื่อสื่อสารให้ผู้ฟังทราบได้เอง ว่าประโยชน์ที่จะได้รับในวันนี้มีอะไรบ้าง

การ Interact กับผู้ฟังด้วยการสอบถามความคาดหวัง สามารถช่วยให้ผู้พูดสามารถปรับลักษณะการนำเสนอ Content ให้เหมาะสมและเกิดประโยชน์สูงสุดกับผู้ฟังได้ และในบางครั้ง คนฟังก็อาจจะไม่ได้ต้องการฟัง Content ทั้งหมดที่ผู้พูดเตรียมมาก็ได้

จบ Preparation กันไปแล้ว ทีนี้เราจะเริ่มเข้าสู่ Storytelling กันละ

Presentation Objective

การจะไปถึง Storytelling สิ่งหนึ่งที่เป็นสิ่งสำคัญเลยก็คือ Presentation Objective ซึ่งผมให้ Storytelling เป็น Subset ของ Presentation Objective อีกที

Presentation Objective

จะแบ่งออกเป็น 3H นั่นคือ Head, Heart และ Hand

Head = inform เป็นการใช้ Information ในการสื่อสาร
Heart = influence เป็นการใช้เพื่อการ Connect กับผู้ฟัง
Hand = in action เป็นการใช้มือในการช่วยสื่อสาร

ทั้ง 3H นี้จะเข้ามาช่วยเราในการโน้มน้าวผู้ฟัง, เพิ่มเติมความรู้, ขอความร่วมมือ หรือ พูดให้เกิด Action บางอย่าง

“Speak for change mindset”

BODY

ในการที่จะ Present ทางโค้ชเค้าก็แนะนำเรื่อง BODY เข้ามา ซึ่งจะประกอบไปด้วย STEMS

S = Storytelling การเล่า
T= Testimonial บุคคลอ้างอิง
E =Example การยกตัวอย่าง
M = Metaphor การอุปมา เปรียบเทียบ
S = Statistics การใช้ Information จาก 3H ด้านบน

Storytelling

ในที่สุดก็มาถึง Storytelling ขอบคุณทุกท่านมากครับที่อ่านมาจนถึงตรงนี้
Storytelling ที่ผมไปเทรนมา เค้าจะแบ่งออกเป็น 3 ส่วน

Actors

Actors หมายถึงตัวละคร การเล่าเรื่องราว ก็ควรที่จะมีตัวละคร ให้ผู้ฟังจดจำได้ง่าย อาจจะเป็นการพูดชื่อ และ องค์ประกอบ หรือ เหตุการณ์ของตัวละครนั้นให้ผู้ฟังจำได้

Story Board

Story board เป็นการเขียนกรอบแสดงเรื่องราว เราควรที่จะมีการเตรียมตัวในการเล่าเรื่องราว อาจจะเตรียมตัวด้วยการคิด Story ต่าง ๆ เป็นขั้นเป็นตอน ในแต่ละฉากที่เราจะพูดถึง โดยทั่วไปเรามักจะเห็นได้จาก ภาพยนตร์ เค้าจะทำ Story board มาก่อน ไล่ลำดับเหตุการณ์ ซึ่งเราก็เอาแนวคิดนี้มาเล่าเรื่องราวที่ต้องการจะสื่อสารได้

Emotion

การจะสร้าง Emotion จะเกิดขึ้นได้จาก Motion โดยเค้าแบ่ง Motion ออกไปอีก 4 ส่วน WHET

Walk = การเดิน อาจจะเป็นการเดินไปมีปฏิสัมพันธ์ กับผู้ฟัง หรือ การเดินแล้วหยุดก่อน ค่อยพูด

Hand = มือไม้ ก็ถือเป็นสิ่งที่สำคัญ การแสดงท่าทางผ่านมือของเรา มีผลต่อผู้ฟังเป็นอย่างมาก

Eyes = เค้าแนะนำเรื่อง “LOOK LOCK TALK” ซึ่งเป็นเทคนิคการใช้สายตาในการมองคนอื่นขณะที่เรากำลังพูด มันใช้ผล ได้ดีกับการพูดต่อหน้าคนหมู่มาก

Tone of voice = น้ำเสียงในการพูดก็มีผลต่อผู้ฟัง การใช้น้ำเสียงควรใช้ให้เหมาะสมกับเหตุการณ์นั้น ๆ ไม่นิ่งเกินไป และ มากเกินไป

เพราะพลังมันอยู่ที่เราครับ อย่าให้ Presentation เป็นคน Lead เราควร Lead Presentation

Conclusions

กว่าจะเข้า Storytelling ได้ ยาวมากกก เนื่องจากผมมองว่าทุกสิ่งมัน Related กันหมดเลย จะเห็นได้ว่า Storytelling นั้นมันก็เป็นการ “เล่าเรื่อง” นั่นแหละ ถ้าเราเอาหลาย ๆ สิ่งมาประกอบเข้ากัน มันจะมีประโยชน์อย่างยิ่ง ในการที่เราจะสื่อสารไปหาคนฟัง ทั้งจากการแค่นั่งพูดคุยกันในที่ประชุม หรือ พูดต่อหน้าคนหมู่มาก การเล่าเรื่องราวที่ดีใช้หลักการต่าง ๆ มาประกอบ จะทำให้คุณสามารถดึงดูดผู้ฟัง ทำให้ผู้ฟังไม่หลุดออกจาก Context ที่คุณต้องการจะสื่อสาร ซึ่งผมว่ามันเวรี่กู้ดมาก

“เพราะพลังมันอยู่ที่เราครับ อย่าให้ Presentation เป็นคน Lead
เราควร Lead Presentation

“อย่ามัวแต่ไปคิดว่า เรา Present ไปตามหน้าที่ เค้าบอกให้เรามา Present เราก็ Present แต่จงคิดอีกมุมว่า คนฟังเค้าต้องการอะไร แล้วเค้าได้อะไรไปจากเรา”

หวังว่าผู้อ่านจะได้รับความรู้ไปบ้าง เผื่อมีโอกาสได้ Present จะได้ลองหยิบวิธีการ และ นำไปเล่าให้ดึงดูดคนฟังได้นะครับ

ทิ้งท้ายไว้นิดนึงนะครับ สำหรับผู้เริ่มต้นใหม่ ผมแนะนำให้หมั่นฝึกฝนเพื่อให้เกิดความชำนาญ และ มั่นใจ จากนั้นค่อย ๆ พัฒนาเทคนิคต่าง ๆ ที่ได้รับ นำไปประยุกต์ใช้ เพราะผมเข้าใจว่า Nature ของแต่ละคนนั้นต่างกัน

ปล. ไม่มีข้อมูลอ้างอิงใด ๆ มากมายนะครับ มันเป็นสรุปสิ่งที่ผมได้รับมา ซึ่ง ผมเข้าไม่เต็มคลาสด้วย เนื่องจากติดภาระกิจ

--

--

Sakul Montha
Sakul Montha

Written by Sakul Montha

Chief Product Officer, a man who’s falling in love with the galaxy.

No responses yet